jestpic.com

Discover Best Images of World

#food #travel #sports #news #may #saturday

ART&CULTURE: ปูพรมแดงไปทำไม? ประวัติศาสตร์ชี้ว่าเพื่อต้อนรับ ‘ผู้ยิ่งใหญ่’ และแสดงออกซึ่งความหรูหรา-มงคล<br />.<br />งานประเภท ‘ปูพรมแดง’ หรือ red-carpet event ในความรับรู้ของคนทั่วๆ ไปในยุคศตวรรษที่ 21 น่าจะเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงเทศกาลหรือพิธีการต่างๆ ที่จัดแบบยิ่งใหญ่ และต้องมีคนดังๆ มาร่วมงาน โดยส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงงานประกาศรางวัลภาพยนตร์และละครของคนบันเทิงในฝั่งตะวันตก <br />.<br />สื่อเก่าแก่อย่าง BBC และ CNN เคยรายงานว่าพรมแดงถูกจับคู่กับงานประกาศรางวัลออสการ์ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 แต่ที่จริงแล้วประวัติความเป็นมาของพรมแดงอาจสืบสาวกลับไปได้ถึงกว่า 2,500 ปีที่แล้ว โดยอ้างถึงบทละครโบราณเกี่ยวกับกษัตริย์อะกาเมนนอน (Agamemnon) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกซึ่งได้รับการปูพรมแดงต้อนรับกลับบ้านหลังยกทัพกลับจากตีเมืองทรอย<br />.<br />ส่วนสาเหตุที่พรมแดงเป็นของหรูหราและกลายเป็นธรรมเนียมในการประดับตกแต่งของเหล่ากษัตริย์และคนในรั้วในวังทางฝั่งตะวันตก The New York History รายงานอ้างอิงการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ที่สันนิษฐานว่าสมัยโบราณนั้นการย้อม ‘สีแดง’ ทำได้ยากเย็นที่สุด โดยมีหลักฐานย้อนไปถึงศตวรรษที่ 16 ซึ่งบ่งชี้ว่าจักรวรรดิแอซเท็ก (Aztec Empire) มีการสกัดสีแดงจากแมลงโคชินีล (cochineal) ที่อาศัยอยู่ตามต้นกระบองเพชร <br />.<br />กว่าจะจับแมลงและนำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ให้กลายเป็นสีแดงเพื่อนำไปใช้กับเส้นใยผ้าหรือวัสดุอื่นๆ เรียกได้ว่าต้องสิ้นเปลืองทั้งเงิน แรงงาน และเวลา สีแดงจึงเป็นสีที่บ่งชี้ถึงความร่ำรวยมีฐานะของผู้ครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณหรือวัสดุต่างๆ ซึ่งคนในยุคโบราณที่จะมีฐานะและอำนาจถึงขั้นนั้นได้ก็ต้องเป็นระดับ ‘ผู้ปกครอง’ หรือไม่ก็เชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย<br />.<br />เมื่ออาณาจักรสเปนแผ่ขยายอิทธิพลด้วยการล่าอาณานิคมและการค้า อารยธรรม ‘สีแดง’ จึงถูกถ่ายทอดไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของโลกไปด้วย เพราะมีการบันทึกว่าเส้นใยและแพรพรรณสีแดงซึ่งย้อมจากแมลงโคชินีลถูกส่งไปขายทั้งในอาณาจักรฝรั่งเศส เวนิส เนเธอแลนด์ จีน เปอร์เซีย และออตโตมัน เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดและบ่งบอกถึงความหรูหรามีระดับของผู้ครอบครองสินค้าเหล่านั้น และในบางวัฒนธรรมก็ถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลและชีวิตชีวาด้วย<br />.<br />อ่านต่อใน Comment

ART&CULTURE: ปูพรมแดงไปทำไม? ประวัติศาสตร์ชี้ว่าเพื่อต้อนรับ ‘ผู้ยิ่งใหญ่’ และแสดงออกซึ่งความหรูหรา-มงคล
.
งานประเภท ‘ปูพรมแดง’ หรือ red-carpet event ในความรับรู้ของคนทั่วๆ ไปในยุคศตวรรษที่ 21 น่าจะเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงเทศกาลหรือพิธีการต่างๆ ที่จัดแบบยิ่งใหญ่ และต้องมีคนดังๆ มาร่วมงาน โดยส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงงานประกาศรางวัลภาพยนตร์และละครของคนบันเทิงในฝั่งตะวันตก
.
สื่อเก่าแก่อย่าง BBC และ CNN เคยรายงานว่าพรมแดงถูกจับคู่กับงานประกาศรางวัลออสการ์ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 แต่ที่จริงแล้วประวัติความเป็นมาของพรมแดงอาจสืบสาวกลับไปได้ถึงกว่า 2,500 ปีที่แล้ว โดยอ้างถึงบทละครโบราณเกี่ยวกับกษัตริย์อะกาเมนนอน (Agamemnon) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกซึ่งได้รับการปูพรมแดงต้อนรับกลับบ้านหลังยกทัพกลับจากตีเมืองทรอย
.
ส่วนสาเหตุที่พรมแดงเป็นของหรูหราและกลายเป็นธรรมเนียมในการประดับตกแต่งของเหล่ากษัตริย์และคนในรั้วในวังทางฝั่งตะวันตก The New York History รายงานอ้างอิงการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ที่สันนิษฐานว่าสมัยโบราณนั้นการย้อม ‘สีแดง’ ทำได้ยากเย็นที่สุด โดยมีหลักฐานย้อนไปถึงศตวรรษที่ 16 ซึ่งบ่งชี้ว่าจักรวรรดิแอซเท็ก (Aztec Empire) มีการสกัดสีแดงจากแมลงโคชินีล (cochineal) ที่อาศัยอยู่ตามต้นกระบองเพชร
.
กว่าจะจับแมลงและนำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ให้กลายเป็นสีแดงเพื่อนำไปใช้กับเส้นใยผ้าหรือวัสดุอื่นๆ เรียกได้ว่าต้องสิ้นเปลืองทั้งเงิน แรงงาน และเวลา สีแดงจึงเป็นสีที่บ่งชี้ถึงความร่ำรวยมีฐานะของผู้ครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณหรือวัสดุต่างๆ ซึ่งคนในยุคโบราณที่จะมีฐานะและอำนาจถึงขั้นนั้นได้ก็ต้องเป็นระดับ ‘ผู้ปกครอง’ หรือไม่ก็เชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย
.
เมื่ออาณาจักรสเปนแผ่ขยายอิทธิพลด้วยการล่าอาณานิคมและการค้า อารยธรรม ‘สีแดง’ จึงถูกถ่ายทอดไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของโลกไปด้วย เพราะมีการบันทึกว่าเส้นใยและแพรพรรณสีแดงซึ่งย้อมจากแมลงโคชินีลถูกส่งไปขายทั้งในอาณาจักรฝรั่งเศส เวนิส เนเธอแลนด์ จีน เปอร์เซีย และออตโตมัน เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดและบ่งบอกถึงความหรูหรามีระดับของผู้ครอบครองสินค้าเหล่านั้น และในบางวัฒนธรรมก็ถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลและชีวิตชีวาด้วย
.
อ่านต่อใน Comment

4/28/2024, 5:24:59 AM